วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

กฏของการแต่งกายของมุสลิม

กฎข้อที่หนึ่ง : เสื้อผ้าเครื่องนุ่งผ่มที่ดีที่สุด
โอ้ ลูกหลานของอาดัม เรานั้นได้นำลงมายังพวกเจ้าซึ่งบรรดาเครื่องนุ่งห่มเพื่อปกคลุมบรรดาส่วนที่เป็นส่วนตัวของพวกเจ้าและเพื่อเป็นเครื่องประดับ แต่เครื่องนุ่งห่มแห่งความเคารพยำเกรงนั้นดีที่สุด เหล่านี้คือสัญญาณบางสัญญาณของพระเจ้า เพื่อพวกเขานั้นจะได้รำลึก” 7:26
ความยำเกรงพระเจ้าและการรับรู้ว่าพระเจ้านั้นกำลังจองมองเราอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นกฎพื้นฐานสำหรับการแต่งการของสตรีมุสลิม ผู้หญิงทุกคนนั้นทราบดีว่าอะไรคือความพอเหมาะพอดีและอะไรคือความไม่เหมาะสม ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ใครไปบอกเพราะผู้หญิงทุกคนนั้นรู้ดีว่าการที่จะยืนหยัดอยู่บนความดีงามนั้นทำได้อย่างไร พระเจ้าเป็นผู้ทรงสร้างผู้หญิงขึ้นมา ดังนั้นพระองค์ทรงทราบดีว่าผู้หญิงนั้นสามารถที่จะแยกแยะสิ่งเหล่านี้ได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมพระเจ้าถึงได้ทำให้การยำเกรงพระเจ้านั้นเป็นกฎข้อแรก
กฎข้อที่สอง : ปกปิดหน้าอกของพวกนาง
กฎข้อที่สองนี้อยู่ในอายะฮที่ 24:31 พระเจ้าทรงได้สั่งให้บรรดาผู้หญิงนั้นปกปิดหน้าอกของพวกนาง ก่อนที่จะยกอายะฮที่ 24:31 ขึ้นมา ขอกล่าวถึงคำสำคัญบางคำที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆเวลาที่เรานั้นพูดถึงเรื่องการแต่งกายของสตรีมุสลิม นั่นก็คือคำว่า ฮิจาบและคำว่า คิมาร์
คำว่า ฮิจาบในอัลกุรอาน
ฮิจาบนั้นเป็นคำศัพท์ที่ใช้โดยผู้หญิงมุสลิมหลายคนเพื่อที่จะหมายถึงผ้าคลุมศีรษะซึ่งอาจจะหมายรวมถึงผ้าคลุมหน้าด้วยก็ได้ คำว่า ฮิจาบในภาษาอาหรับนั้นแปลว่า ผ้าคลุมหน้าของผู้หญิง และยังมีความหมายอื่นๆอีกอย่างเช่น ฉาก สิ่งปกคลุม เสื้อคลุม ผ้าคลุม ผ้าม่าน ฝากั้นห้อง ผนังกั้น สิ่งที่ใช้แบ่งเขต
คำว่าฮิจาบนั้นมีอยู่ในอัลกุรอานหรือไม่?
คำว่า ฮิจาบถูกกล่าวในอัลกุรอานทั้งหมด 7 ครั้งด้วยกัน มี 5 ครั้งที่ใช้คำว่า ฮิจาบและอีก 2 ครั้งใช้คำว่า ฮิจาบันทั้งหมดนี้อยู่ในอายะฮต่างๆดังต่อไปนี้ : 7:46, 33:53, 38:32, 41:5, 42:51, 17:45 และ 19:17.
ไม่มีครั้งไหนเลยในอัลกุรอานที่พระเจ้าได้ใช้คำว่า ฮิจาบตามความหมายที่บรรดามุสลิมทุกวันนี้ได้ใช้กันเพื่อหมายถึงผ้าคลุมศีรษะสำหรับสตรีมุสลิม!
พระเจ้าทรงทราบดีว่าประชาชาติหลังจากที่นบีมูฮัมมัดได้เสียชีวิตไปแล้วจะใช้คำว่า ฮิจาบเพื่อแต่งกฎของการแต่งกายของบรรดาสตรีมุสลิมขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้านั้นทรงไม่ได้อนุมัติแต่อย่างใด พระองค์จึงทรงได้ใช้คำว่า ฮิจาบก่อนหน้าพวกเขา เช่นเดียวกันกับที่พระองค์ทรงได้ใช้คำว่า ฮะดีษก่อนหน้าพวกเขาแล้ว (45:6)
คำว่า ฮิจาบ ในอัลกุรอาน นั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการแต่งกายของบรรดาสตรีมุสลิมแม้แต่น้อย!!
ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ในขณะที่บรรดามุสลิมนั้นได้ใช้คำว่า ฮิจาบเพื่อเป็นการแต่งกายตามแบบฉบับอิสลาม พวกเขานั้นได้ลืมไปว่าความจริงแล้ว ฮิจาบนั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับอิสลามหรือกุรอานเลย
จริงจริงแล้ว ฮิจาบ นั้นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของบรรดาชาวยิวที่ได้ถูกแทรกซึมไปอยู่ในบรรดาบันทึกฮะดีสต่างๆเช่นเดียวกันกับสิ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่อีกหลายๆเรื่องที่ได้ปนเปื้อนอยู่ในอิสลาม บรรดานักศึกษาเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของชาวยิวนั้นทราบดีว่าบรรดารับบัยและผู้นำทางศาสนานั้นเป็นผู้ส่งเสริมการคลุมศีรษะ
บรรดาสตรีชาวยิวที่เคร่งครัดนั้นก็ยังคลุมศีรษะกันอยู่ โดยเฉพาะเวลาที่ไปวัด ไปงานแต่งงาน และไปงานเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ไม่ใช่กฎของศาสนาแต่เป็นวัฒนธรรมของชาวยิว โดยได้ถูกปฏิบัติโดยบรรดาสตรีที่มีอารยธรรมชาวยิวและได้ถูกสืบต่อลงมาจนเป็นวัฒนธรรมยิว

สตรีชาวคริสต์บางคนก็ยังคลุมศีรษะเวลาไปงานศาสนาต่างๆส่วนแม่ชีนั้นคลุมศีรษะตลอดเวลา ธรรมเนียมปฏิบัติของการคลุมศีรษะนั้นได้ถูกปฏิบัติกันมาเป็นพันพันปีก่อนหน้าที่บรรดานักวิชาการมุสลิมนั้นจะกล่าวอ้างว่า 'ฮิจาบ' นั้นเป็นกฎการแต่งกายของสตรีมุสลิม

บรรดาชาวอาหรับไม่ว่าจะนับถือศาสนายิว คริสต์ หรือ อิสลามนั้นได้สวมใส่ ฮิจาบซึ่งไม่ใช่เพราะอิสลามแต่เป็นเพราะธรรมเนียมปฏิบัติของพวกเขา อย่างเช่นในประเทศซาอุดิอารเบีย ผู้ชายทุกคนนั้นคลุมศีรษะของพวกเขาเนื่องจากมันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ไม่ใช่ศาสนา 

ในทวีปอัฟริกาตอนเหนือนั้นมีเผ่าที่ชื่อว่า ทูแล ซึ่งมีบรรดาผู้ชายมุสลิมที่ใส่ ฮิจาบแทนที่จะเป็นบรรดาผู้หญิง ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติของพวกเขานั้นสวนทางกับที่อื่นๆ ถ้าหากการใส่ ฮิจาบนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความเคร่งครัดในศาสนา แม่ชีเทเรซ่า ก็คงเป็นคนแรกที่จะถูกนับว่าเคร่งครัด

ฮิจาบนั้นเป็นวัฒนธรรมในการแต่งกายและไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับอิสลามหรือศาสนาเลย ในโลกนี้ มีบางที่ที่มีบรรดาผู้ชายที่ใส่ ฮิจาบและบางที่ที่ผู้หญิงใส่ ฮิจาบดังนั้นการเอาศาสนาไปผสมปนเปกับวัฒนธรรมก็เป็นรูปแบบของการทำชิริกอย่างหนึ่ง เพราะมันเสมือนว่าเราได้ตั้งกฎของศาสนาขึ้นมาเองนอกเหนือจากกฎของพระเจ้า

คำว่า ‘คิมาร์ในอัลกุรอาน
คำว่า คิมาร์นั้นได้ถูกใช้อยู่ในอายะฮที่ 24:31 ในขณะที่กฎของการแต่งกายข้อแรกนั้นอยู่ในอายะฮที่ 7:26
กฎข้อที่สองนั้นอยู่ในอายะฮที่ 24:31 มีมุสลิมบางคนได้ยกอายะฮนี้ขึ้นมาเหมือนกับว่าอายะฮนี้มีคำว่า ฮิจาบอยู่ในนั้นด้วย หรือใช้คำว่า ผ้าคลุมผม โดยการชี้ไปยังคำว่า โคมูริฮินนา’ (คิมาร์ของพวกนางโดยลืมไปว่าพระเจ้านั้นทรงได้ใช้คำว่า ฮิจาบหลายครั้งแล้วในอัลกุรอาน บรรดาผู้ที่ไม่มีอคติก็สามารถยอมรับอย่างง่ายดายว่าคำสั่งในอายะฮที่ 24:31 นั้นไม่ได้สั่งให้ผู้หญิงคลุมศีรษะ คำว่า คิมาร์ นั้น ไม่ได้แปลว่า ฮิจาบ หรือ ผ้าคลุมผมแต่อย่างใด บรรดาผู้ที่ยกอายะฮนี้มักจะบวกเพิ่มคำว่า (ผ้าคลุมศีรษะและ (ผ้าคลุมหน้าเข้าไปหลังคำว่า โคมูริฮินนาและมักจะใส่ไว้ในวงเล็บ สิ่งที่เพิ่มเติมเข้าไปนั้นเป็นคำพูดของพวกเขาเองไม่ใช่คำพูดของพระเจ้าและพวกเขานั้นจงใจที่จะเพิ่มมันเข้าไปเพื่อให้มีความหมายที่บิดเบือนไม่ตรงกับคำพูดของพระเจ้า

ถ้อยคำในอายะฮที่ 24:31 คือ
และจงบอกบรรดาผู้ศรัทธาหญิงให้ลดสายตายของพวกนางให้ต่ำลงและรักษาส่วนที่เป็นส่วนตัวของพวกนางและอย่าได้เปิดเผยบรรดาส่วนสัดที่สวยงามของพวกนางยกเว้นว่ามันเป็นสิ่งที่เปิดเผยตามปกติ พวกนางจงปกปิดล่องหน้าอกของพวกนางด้วย คิมาร์ของพวกนาง พวกนางจงอย่าได้เปิดเผยบรรดาส่วนสวยงามของพวกนางยกเว้นต่อหน้าสามีของพวกนาง บิดาของพวกนาง บิดาของสามีของพวกนาง ลูกชายของพวงนาง ลูกชายของสามีของพวกนาง พี่น้องผู้ชายของพวกนาง ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพวกนาง ลูกชายของพี่น้องผู้หญิงของพวกนาง บรรดาผู้หญิงคนอื่นๆ ทาสของพวกนาง บรรดาคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ และเด็กๆที่ยังไม่รู้เรื่องความโป๊เปลือยของผู้หญิง พวกนางนั้นอย่าได้กระทืบเท้าของพวกนางเพื่อให้เห็นถึงรายละเอียดของสิ่งสวยงามของพวกนางที่ได้ถูกปกปิดไว้ พวกเจ้าจงสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวต่อพระเจ้าเถิดบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เพื่อพวกเจ้านั้นจะได้ประสบความสำเร็จ” 24:31
ในภาษาอาหรับคำว่า คิมาร์ นั้นแปลว่าสิ่งปกคลุม สิ่งใดๆก็ตามที่ใช้ปกคลุมสามารถเรียกว่า คิมาร์ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ผ้าม่าน ชุดกระโปรง ผ้าปูโต๊ะที่ใช้เพื่อคลุมโต๊ะ หรือ ผ้าผ่มก็สามารถเรียกว่าคิมาร์ได้เหมือนกัน คำว่า คามร์ ที่ใช้ในอัลกุรอานเพื่อหมายถึงสิ่งมึนเมาก็มีรากศัพท์มาจากคำว่าคิมาร์ ทั้งสองคำนั้นหมายถึงสิ่งปกคลุม คิมาร์นั้นเอาไว้ปกคลุมหน้าต่าง ร่ายกาย โต๊ะ และอื่นๆอีกมากมาย ส่วนคามร์นั้นปกคลุมสติสัมปชัญญะ คนแปลกุรอาน ส่วนมากนั้นได้รับอิทธิพลจากฮะดีสและวัฒนธรรมจึงได้อ้างว่าคำว่าคิมาร์ในอายะฮที่ 24:31นั้นมีความหมายเดียวที่แปลว่าผ้าคลุมศีรษะ หรือ ฮิจาบ พวกเขานั้นทำให้บรรดาสตรีมุสลิมนั้นเข้าใจผิดว่าอะยะฮที่ 24:31 นั้นสั่งให้ผู้หญิงคลุมศีรษะ ความหมายที่ถูกต้องของคำว่าคิมาร์นั้นสามารถหาได้อย่างง่ายๆจากพจนานุกรมภาษาอาหรับ
อายะฮที่ 24:31 นั้นพระเจ้าบอกให้ผู้หญิงใช้คิมาร์ (สิ่งปกคลุม หรือ เครื่องนุ่งหม่ซึ่งอาจจะเป็น ชุดกระโปรง เสื้อคลุม ผ้าคลุม เสื้อเชิ๊ต เสื้อสตรี ผ้าผันคอ และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อปกคลุมหน้าอกของพวกนาง

กฎข้อที่สาม : อย่าเปิดเผยบรรดาส่วนสัดที่สวยงามของพวกนาง
กฎข้อที่สามนั้นอยู่ในอายะฮที่ 24:31พระเจ้าทรงได้สั่งไม่ให้ผู้หญิงเปิดเผยส่วนสัดที่สวยงามของพวกนางยกเว้นสิ่งเปิดเผยเป็นปกติ

“...อย่าได้เปิดเผยบรรดาส่วนสัดที่สวยงามของพวกนางยกเว้นมันเป็นสิ่งที่เปิดเผยตามปกติ..”

คำสั่งนี้มองผิวเผินแล้วอาจจะดูเหมือนคลุมเครือสำหรับคนหลายๆคนก็เนื่องจากว่าพวกเขานั้นไม่สามารถเข้าใจถึงความเมตตาของพระเจ้าได้ พระเจ้านั้นทรงได้ใช้คำพูดนี้ก็เพื่อว่าบรรดาสตรีนั้นจะได้มีอิสระในการตัดสินใจว่าอะไรบนตัวของพวกนางบ้างที่สมควรจะเปิดเผยได้ บรรดาผู้หญิงที่ดีนั้นสามารถที่จะตัดสินใจได้ถูกว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมและดีงาม และเหมาะกับเวลา สถานที่ และโอกาส
คำว่า ซินาตะฮูนนา’ (ส่วนสัดที่สวยงามในอายะฮนี้หมายถึงสัดส่วนที่สวยงามของผู้หญิงที่แสดงออกทางเพศ ตัวอย่างเช่นสะโพก หน้าอก) ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนในตอนสุดท้ายของอายะฮ พระเจ้าทรงบอกผู้หญิงไม่ได้กระทืบเท้าของพวกนางเพื่อให้เห็นถึง ซินาตะฮูนนาเพราะการกระทืบเท้าเวลาเดินนั้นสามารถทำให้เห็นถึงรายละเอียดของส่วนสัดเหล่านี้ได้

กฎข้อที่สี่ ทำให้เครื่องนุ่งห่มนั้นยาวขึ้น
โอ้นบี จงบอกบรรดาภรรยาของเจ้า บรรดาลูกสาวของเจ้า และบรรดาภรรยาของผู้ศรัทธาทั้งหลายเถิดว่า ให้พวกนางทำให้บรรดาเครื่องนุ่งห่มของพวกนางนั้นยาวขึ้น นี่คือสิ่งที่ดีกว่าที่พวกนางนั้นจะเป็นที่รู้จักและไม่ถูกลวนลาม พระเจ้านั้นคือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตา” 33:59
เมื่อเราพิจารณาคำพูดข้างต้นแล้ว เราก็จะเข้าใจถึงความชาญฉลาดของพระเจ้า ในอายะฮนี้พระเจ้าทรงจงใจที่จะบอกให้บรรดาผู้หญิงนั้นทำให้เครื่องนุ่งห่มของพวกนางให้ยาวขึ้นแต่พระองค์ทรงไม่ได้เจาะจงว่าให้ยาวแค่ไหน ความจริงพระองค์ทรงสามารถที่จะสั่งเราได้ว่าให้ยาวลงมาแค่ตาตุ่ม หรือครึ่งแข้ง หรือแค่หัวเข่า แต่พระองค์ทรงไม่ได้ทำเช่นนั้น พระเจ้าทรงทราบดีว่าพวกเราทุกคนนั้นจะอยู่กันในสังคมที่แตกต่างกันมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน พระองค์จึงทรงได้ปล่อยให้ผู้คนในแต่ละสังคมนั้นตัดสินใจเอาเองในเรื่องเกร็ดย่อยเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ตราบใดที่ความดีงามและความเหมาะสมนั้นยังคงอยู่

การผ่อนผันในกฎของการแต่งกาย
ในระหว่างบุคคลในครอบครัว พระเจ้านั้นทรงได้ผ่อนผันกฎของการแต่งกายไว้ให้แล้ว ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในอายะฮที่24:31 และมากไปกว่านั้นพระองค์ทรงได้ผ่อนผันกฎของการแต่งกายแก่บรรดาผู้หญิงสูงอายุที่ไม่ประสงค์ที่จะแต่งงานแล้วเอาไว้อีกด้วย
ไม่มีความผิดอันใดแก่บรรดาผู้หญิงสูงอายุที่ไม่คาดหวังที่จะแต่งงานในการที่จะผ่อนคลายกฎของการแต่งกายของพวกนาง ในขณะที่พวกนางนั้นจะต้องไม่อวดบรรดาส่วนสัดที่สวยงามของพวกนาง แต่การระงับจากการกระทำดังกล่าวก็จะเป็นการดีกว่าสำหรับพวกนาง พระเจ้านั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” 24:60

การตอบกลับสำหรับบรรดาผู้ที่ได้อ้างว่าบรรดาผู้หญิงมุสลิมนั้นต้องคลุมตั้งแต่หัวจรดเท้ายกเว้นใบหน้าเท่านั้น
มีบรรดานักวิชาการมุสลิมจำนวนมากที่ได้คิดค้นกฎที่สุดขั้วเพื่อเป็นแบบฉบับของการแต่งกายแก่บรรดาผู้หญิงมุสลิม ซึ่งไม่ถูกพบในคัมภีร์อัลกุรอานแต่อย่างใด
โดยบ้างก็กล่าวว่าผู้หญิงนั้นจะต้องคลุมตั้งหัวจรดเท้ายกเว้นใบหน้าเท่านั้น ในขณะที่บางพวกที่สุดขั้วกว่านั้นก็ได้กล่าวว่าผู้หญิงนั้นจะต้องคลุมตั้งแต่หัวจรดเท้ายกเว้นรูของตาทั้งสองเท่านั้นเพื่อเอาไว้ให้มองเห็น!!

1. ไม่มีในอัลกุรอานตรงไหนเลยที่สั่งให้ผู้หญิงนั้นคลุมตั้งหัวจรดเท้า บรรดาผู้ที่สั่งสอนการกระทำดังกล่าวนั้นไม่สามารถหากฎใดในอัลกุรอานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎที่สุดขั้วของพวกเขาได้ ดังนั้นพวกเขาจึงได้เปลี่ยนแปลงคำพูดในอายะฮที่ 24:31 และ 33:59 เพื่อให้สอดคล้องกับการสอนที่ผิดๆของพวกเขา

2. ในอายะฮที่ 24:31 ที่พระเจ้าทรงได้เจาะจงให้ผู้หญิงนั้นปกปิดหน้าอกทำให้เรารู้ว่ามีส่วนอื่นในร่างกายของผู้หญิงที่ไม่จำเป็นต้องปกปิด และเพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อบ่งชี้ในอายะฮที่ 24:31 ขอให้เราลองพิจารณาตัวอย่างดังต่อไปนี้
ลองคิดถึงบ้านของเราที่มีสวนอยู่ในบ้าน แล้วเราได้ให้คนสวนมาคอยดูแลสวนนั้น วันหนึ่งเราได้บอกคนสวนให้ช่วยรดน้ำใต้ต้นไม้ใหญ่และส่วนข้างหลังของสวน

ตัวอย่างนี้บอกอะไรแก่เราได้บ้าง
มันบอกแก่เราได้ว่าเมื่อเรานั้นได้เจาะจงให้คนสวนนั้นรดน้ำเฉพาะบางที่นั้นก็แปลว่ามีบางที่ในสวนที่ไม่ต้องรดน้ำ เพราะถ้าหาก ว่าเรานั้นต้องการให้คนสวนรดน้ำทั้งสวนเราก็คงบอกคนสวนว่าให้รดน้ำทั่วทั้งสวน

ถ้าหากเราเปรียบเทียบตัวอย่างนี้กับเรื่องกฎของการแต่งกายของผู้หญิง มันก็คือหลักการเดียวกัน ถ้าหากพระเจ้านั้นต้องการให้ผู้หญิงปกปิดทั้งตัวพระองค์ก็คงไม่ต้องเสียเวลาบอกว่า จงปกปิดล่องหน้าอกของพวกนางในเมื่อคำสั่งที่ให้ปกปิดทั้งร่างกายก็คลอบคลุมทุกอย่างอยู่แล้ว แต่พระเจ้านั้นเจาะจงเพียงบางส่วนของร่างกายผู้หญิงที่ต้องปกปิด ดังนั้นส่วนอื่นๆก็ไม่จำเป็นต้องปกปิดตราบใดที่มันไม่ใช่บรรดาส่วนสัดที่สวยงามที่แสดงออกทางเพศ และความดีงามและความเหมาะสมในการแต่งกายนั้นยังคงอยู่

3. คำสั่งที่ว่า ทำให้เครื่องนุ่มหม่นั้นยาวขึ้นก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าผู้หญิงนั้นไม่ได้ถูกสั่งให้ปกปิดตั้งแต่หัวจรดเท้า เพราะถ้าผู้หญิงนั้นถูกสั่งให้ปกปิดตั้งแต่หัวจรดเท้าอยู่แล้ว คำสั่งที่ว่า ทำให้เครื่องนุ่งหม่นั้นยาวขึ้นก็จะไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะเราจะทำให้เครื่องนุ่มห่มของเรานั้นยาวขึ้นอีกได้อย่างไรถ้าหากเครื่องนุ่งห่มของเรานั้นยาวถึงพื้นอยู่แล้ว


แหล่งที่มา: www.quran-islam.com

เงื่อนไขหรือข้อกำหนด การแต่งกายแบบมุสลิม

การเเจกแจงข้อตัดสินต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งร่างกายของสตรี

          1. สตรีนั้นถูกใช้ให้กระทำสิ่งที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมกับนางในประการต่างๆแห่งธรรมชาติ อันได้แก่การตัดเล็บการเอาใจใส่ ทั้งนี้เนื่องจากว่าการตัดเล็บนั้นเป็นแบบอย่าง(ซุนนะฮฺ) โดยการเห็นพ้องของบรรดานักปราชญ์ เพราะเป็นประการแห่งธรรมชาติประการหนึ่งที่ปรากฎอยู่ในฮาดิษ และเนื่องจากการขจัดออกนั้นนำมาซึ่งความสะอาดและความสวยงาม และการคงไว้ในลักษณะที่ยาวนั้นนำมาซึ่งการเสียภาพลักษณ์ และการเปรียบเสมือนเสือสิงห์กระทิงแรด และทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกไว้ และห้ามน้ำไม่ให้เข้าใต้เล็บ และมุสลิมะฮฺบางคนถูกทดสอบด้วยการไว้เล็บยาวๆโดยเป็นการเลียนแบบผู้ปฏิเสธ (กาฟิเราะฮฺ) และความไม่รู้ในแบบอย่าง (ซุนนะฮฺ) และมีแบบอย่างให้สตรีขจัดขนรักแร้ทั้งสองและขนในร่มผ้า เป็นการปฏิบัติตามฮาดิษ ที่ปรากฏในเรื่องดังกล่าว และสิ่งที่มีอยู่จากการทำให้เกิดความสวยงามและที่ดีที่สุดนั้นให้มีการกระทำเช่นนั้นในทุกสัปดาห์ หรือ ไม่ปล่อยให้มันล่วงเลยไปมากกว่าสี่สิบวัน

          2. 
สิ่งที่ถูกใช้และถูกห้ามไม่ให้กระทำในเรื่องผมศีรษะ ขนคิ้วและข้อตัดสินของการอาบชโลมผม และย้อมผมด้วยสี

            
เชค มุฮัมหมัด อิบนุ อิบรอฮีม อาลุซเซค ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนาของราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย รอฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ว่า...”ส่วนผมของศีรษะสตรีนั้นโกนออกไม่ได้” ดังฮาดิษที่อิมามนะซาอีย์ได้รายงานไว้ในซุนนะฮ์ของท่านด้วยสายรายงานของท่านจากอาลีรอดิยัลลอฮุอันฮฺ และอิมามอัลบัซซัรในหนังสือมุสนัตของท่านด้วยสายรายงานจากท่านอุสมาน และอิบนุญะรีรได้รายงานไว้ ด้วยสายรายงานของท่านจากอิกริมะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮุ พวกเขากล่าวว่า :
"(ท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามไม่ให้สตรีโกนผมศีรษะของนางออก) และการห้ามนั้นเมื่อมาจากท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มันก็บ่งบอกว่าทำไม่ได้ (หะรอม) ตราบใดที่ไม่มีสิ่งที่ผันแปร"
เมาลา อากีกอรี ได้กล่าวไว้ในอัลมิรกอฮฺ ซัรฮุลมิซกาฮฺ ว่า

คำพูดของท่านนบีที่ว่า (ห้ามไม่ให้โกนผมศีรษะของนางออก) นั้นก็เนื่องจากผมส่วนหน้าของสตรีนั้นเปรียบเสมือนเคราสำหรับผู้ชายในลักษณะและความสวยงาม...

         
การตัดผมออกนั้นหากว่าเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นที่ไม่ใช่การตกแต่งเช่นไม่มีความสามารถที่จะซื้อน้ำยาหรือแชมพูเพื่อรักษา หรือยาวมากและทำให้เกิดความยากลำบาก ก็ไม่มีปัญหาแต่ประการใด ในการที่จะตัดออกเท่าที่มีความต้องการ เหมือนกับที่ภรรยาบางคนของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บางคนได้กระทำหลังจากที่ท่านได้จากโลกนี้ไป เนื่องจากพวกนางได้ละทิ้งการตกแต่ง และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไว้ผมยาวอีกต่อไป
           แต่ถ้าหากจุดประสงค์ของสตรีในการตัดผม นั้นคือแบบการเลียนแบบพวกผู้หญิงที่ปฏิเสธการศรัทธา (กาฟิเราะฮฺ) หรือผู้หญิงชั่วหรือการเลียนแบบผู้ชาย อันนี้ก็เป็นสิ่งต้องห้าม โดยไม่มีข้อสงสัยใดๆอันเนื่องมาจากการห้ามไม่ให้เลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย และการห้ามไม่ให้เลียนแบบพวกผู้ชาย และหากว่าจุดประสงค์จากการกระทำนั้นเพื่อการตกแต่งตามหลักฐานที่ปรากฏแก่ฉัน แล้วมันเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ท่านเชคฺ มุฮัมหมัดอะมีน อัชชังกีฏี้ รอฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ใน อัฏวาอุลบายาน ว่า :
แท้จริงประเพณีที่มีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศด้วยการที่สตรีตัดผมศีรษะของนางสั้นจนเกือบติดหนังศีรษะนั้นเป็นแบบอย่างของพวกฝรั่ง ที่ค้านกับสิ่งที่เหล่าบรรดาสตรีของชาวมุสลิมและเหล่าสตรีของชาวอาหรับก่อนอิสลามได้ยึดถือ มันจัดอยู่ในวิถีทางอันนอกลู่นอกทางอย่างหนึ่งในศาสนา กริยา มารยาท ลักษณะ และอื่นๆที่แพร่กระจายไปทั่ว
 หลังจากนั้นท่านได้ตอบปัญหาเกี่ยวกับฮาดิษที่ว่า
          บรรดาภรรยาของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้นตัดผมของพวกนางออกจนกระทั่งถึงบริเวณสองติ่งหู ว่าบรรดาภรรยาของท่านนบีนั้น แท้ที่จริงแล้วพวกนางได้ตัดผมของพวกนางให้สั้นหลังจากที่นบีได้จากโลกนี้ไปเพราะว่าพวกนางได้ทำการตกแต่งในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และการตกแต่งอย่างหนึ่ง ที่สวยงามที่สุดของพวกนางก็คือ ผมของพวกนางส่วนหลังจากที่ท่านได้จากโลกนี้ไปแล้ว สำหรับพวกนางนั้นมีข้อชี้ขาด สำหรับพวกนางโดยที่ไม่มีสตรีคนใดจากเหล่าสตรีของชาวโลกทั้งมวลมามีส่วนร่วมกับพวกนางด้วย ในข้อตัดสินดังกล่าว และนั้นคือ การที่พวกนางนั้นไม่มีความหวังที่จะได้แต่งงานอีกเลย และหมดหวังจากการแต่งงานโดยสิ้นเชิง พวกนางนั้นก็เหมือนพวกสตรีที่มีอิดดะหฺที่ถูกกักไว้ด้วยสาเหตุท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จนกระทั่งนางจากโลกนี้ไป พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้ว่า...

และไม่มีสิทธิ์สำหรับพวกเจ้าในการที่จะทำร้ายทูตของอัลลอฮฺ และแต่งงานกับบรรดาภรรยาของเขา ภายหลังจากเขาเป็นอันขาด แท้จริงในการนั้น ณ ที่อัลลอฮฺเป็นเรื่องที่ใหญ่หลวงนัก” (ซูเราะหฺ อัลอะหฺซาบ 53)

 “
และการไม่มีความหวังที่จะได้แต่งงานอีก โดยตลอดนั้น อาจจะเป็นสาเหตุของการอนุญาติให้ทำการละทิ้งการตกแต่งโดยที่ไม่อนุญาติให้ในสาเหตุอื่นจากที่กล่าวมา” (อัฏวาอุลบายาน เล่มที่ 5)

           
ดังนั้นจึงจำเป็นต่อสตรีที่จะต้องระวังรักษา เอาใจใส่ต่อผมและถักมันให้เป็นหลายเปียด้วยกัน และไม่อนุญาติให้นางม้วนมาไว้บนศีรษะ หรือที่มุมหนึ่งของท้ายทอย
 
เชคคุลอิสลามอิบนุไตยมียะฮฺ ได้กล่าวไว้ในมัจมั๊วะฟะตะวาเล่มที่ 22 หน้าที่ 145 ว่า เหมือนกับที่พวกโสเภณีบางคนถักผมของนางเป็นส่วนเดียว ปล่อยไปอยู่ระหว่างสองไหล่
           เชค มุฮัมหมัดอิบรอฮีม ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนาของประเทศซาอุดิอาระเบีย รอฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ว่า ส่วนสิ่งที่สตรีของบรรดามุสลิมบางคนได้กระทำในสมัยนี้เกี่ยวกับการแยกผมศีรษะไว้ด้านหนึ่ง และเอาผมมารวมไว้ที่ท้ายทอยอีกด้านหนึ่งหรือเอามาไว้บนศีรษะ เหมือนที่พวกสตรีฝรั่งทำ และอันนี้ก็เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ เนื่องจากในการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการเลียนแบบสตรีที่เป็นผู้ปฏิเสธ และมีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮุ ในฮาดิษที่ยาว กล่าวว่า ท่านร่อซูลซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวาซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า ...
(สองพวกของชาวนรก ที่ฉันไม่ได้เห็นพวกเขาทั้งสอง พวกหนึ่งมีแซ่อยู่กับพวกเขาเหมือกับหางวัว พวกเขาใช้ตีผู้คนทั้งหลาย และพวกสตรีที่สวมใส่แต่เปล่าเปลือย เอนไปเอนมา ศีรษะของพวกนางเหมือนกับโหนกอูฐ พวกนางจะไม่ได้เข้าสวรรค์ และดมกลิ่นของมัน ทั้งๆที่กลิ่นของมันนั้นจะดมได้ในระยะทางเท่านั้นเท่านี้) มุสลิมรายงาน 
         นักปราชญ์บางคนได้ขยายความวจนะของท่านที่ว่า (เอนไปเอนมา) ว่าพวกนางนั้นหวีผมในลักษณะเอน ซึ่งมันเป็นหวีของหญิงโสเภณี พวกนางจะหวีเช่นนั้นให้พวกอื่น และนี่เป็นหวีผมของพวกหญิงฝรั่ง และพวกที่ดำเนินตามพวกนางจากพวกผู้หญิงของบรรดามุสลิม (มัจมั๊วฟาตาวาของ เชคฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 47 และ อัล อีฏอหฺ วัตตับยีน ของเชคฺ หะมู้ด อัต-ตุวัยญีรี หน้าที่ 85)
          เช่นเดียวกันสตรีมุสลิมะหฺนั้นถูกห้ามไม่ให้โกนศีรษะ หรือตัดออกโดยไม่มีความจำเป็น นางจะถูกห้ามไม่ให้ต่อผม หรือเอาผมอื่นมาเสริม เนื่องจากมีปรากฏใน ซอเหี้ยหฺ บุคอรี และ มุสลิมว่า...
 “ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สาปแช่งหญิงที่ต่อผมให้คนอื่น และหญิงที่ขอให้คนอื่นมาต่อผมให้
          อันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวมีการปลอมแปลงอยู่ และในการต่อผมที่เป็นที่ต้องห้ามนั้น คือ การสวมใส่บารูกะหฺ (ผมปลอม) ที่เป็นที่ทราบกันในสมัยนี้ อิมามบุคอรี มุสลิม และท่านอื่นๆได้รายงานว่า...มุอาวิยะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวคำปราศรัย ขณะที่ท่านได้มายังมาดีนะฮฺ และได้เอาผมมาพันหนึ่ง หรือม้วนหนึ่งแล้วกล่าวว่า ทำไมพวกสตรีของท่านทั้งหลาย ถึงเอาสิ่งเช่นนี้มาไว้บนศีรษะของพวกนาง ฉันได้ยินท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า...
ไม่มีสตรีคนใดที่เอาผมมาไว้บนศีรษะของนางจากผมของคนอื่น นอกจากมันเป็นการปลอมแปลงเท่านั้น” และคำว่า บารอกะฮฺนั้น คือผมปลอมที่เหมือนผมจริง และการใส่มันนั้นเป็นหลอกลวง
          ข. ห้ามสตรีมุสลิมะฮฺ ไม่ให้ขจัดขนคิ้วทั้งหมด หรือบางส่วนออกด้วยวิธีใดก็ตาม อันได้แก่การโกน หรือการตัด หรือการใช้เครื่องมือหรือน้ำยา หรือขจัดทั้งหมดหรือบางส่วนออก เพราะอันนี้คือการถอนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ผู้ที่ได้กระทำซึ่งก็มีรายงานว่า ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สาปแช่งหญิงที่ถอนขนคิ้ว และหญิงที่ให้ผู้อื่นถอนขนคิ้วให้ และอันนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ ที่ไชตอนพยายามให้ลูกหลานของอาดำกระทำ โดยที่มันได้กล่าวเหมือนกับที่อัลลอฮฺได้ทรงบอกเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า

   “
และแน่นอนยิ่งฉันจะใช้พวกเขา แล้วแน่นอนพวกเขาก็จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรงสร้าง” (ซูเราะหฺ อัลนิซาอฺ 119)

          
และในซอเหี้ยหฺ มีรายงานจากอิบนิมัสอูด รอดิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า... “อัลลอฮฺได้ทรงสาปแช่งหญิงที่สักและผู้หญิงที่ให้ผู้อื่นสัก ให้พวกผู้หญิงที่ถอนขนคิ้ว และพวกผู้หญิงที่ให้ผู้อื่นถอนขนคิ้วให้ และพวกผู้หญิงที่ให้ผู้อื่นทำฟันให้ เพื่อความสวยงาม ที่เปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺหลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า...
  “แล้วฉันจะไม่สาปแช่งผู้ที่รอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สาปแช่ง ในขณะที่มันมีอยู่ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺอัซซาวาญัล กระนั้นหรือ?” ซึ่งหมายถึงคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า...

 “
และอันใดที่รอซูลได้นำมาให้พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงรับ และอันใดที่เขาได้ห้ามพวกเจ้าไว้ พวกเจ้าก็จงหยุดยั้งเสีย” (ซูเราะหฺ อัล-ฮัซรฺ 7)

 
อิบนิกะซีร ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านเลขที่ 2 หน้าที่ 359 พิมพ์ที่ ดารุล อัลดาลุส
          หากสตรีจำนวนมากในทุกวันนี้ได้รับการทดสอบด้วยข้อเสียที่อันตรายนี้ ที่มันเป็นบาปใหญ่อันหนึ่ง จนกระทั่งการถอนขนคิ้วได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นประจำวันอย่างหนึ่ง และไม่เป็นที่อนุญาติสำหรับนาง ในการที่จะไปเชื่อฟังสามีของนาง เมื่อเขาใช้ให้นางกระทำการดังกล่าว เพราะว่าอันนั้นเป็นการฝ่าฝืน

        
ค. ห้ามสตรีมุสลิมะฮฺไม่ให้ทำช่องฟันของนางเพื่อความสวยงาม ด้วยการที่นางเอาตะไบเล็กๆมาถูไถเพื่อให้เกิดช่องฟันเล็กๆ ระหว่างฟัน โดยมีความมุ่งหวังในความสวยงามแต่เมื่อฟันนั้นมีความผิดปรกติ และต้องการให้มันเป็นปรกติ  เพื่อขจัดความผิดปรกตินี้ หรือ หนอนกิน และต้องการให้มีการแก้ไข เพื่อขจัดสิ่งดังกล่าวให้หมดไป อันนั้นก็ไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะว่าการกระทำอย่างนี้มันเป็นการแก้ไขและขจัดความผิดปรกติอ  และนั่นจะเกิดขึ้นด้วยการกระทำของแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทาง

         
ฆ. ห้ามสตรีไม่ให้ทำการสักที่ร่างกายของนาง เพราะว่าท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวาซัลลัมนั้นได้สาปแช่งหญิงที่สัก และหญิงที่ให้ผู้อื่นสักให้ และอันนี้เป็นการกระทำที่ถูกห้าม และบาปใหญ่ชนิดหนึ่ง เพราะว่าท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวาซัลลัม ได้สาปแช่งผู้ที่กระทำดังกล่าว หรือให้ผู้อื่นกระทำให้ และการสาปแช่งจะไม่เกิดขึ้นนอกจากในสิ่งที่เป็นบาปใหญ่เท่านั้น

        
ง. ข้อชี้ขาดการอาบสีของสตรี ย้อมผม และการประดับด้วยทองคำ 

           1. 
การอาบสี  อิหม่ามนะวะวี ได้กล่าวไว้ใน อัลมัจมั๊วอฺ เล่มที่ 1 หน้าที่ 324 ว่า:  “ ส่วนการอาบสีมือและเท้าทั้งสองด้วยใบเทียนนั้น ก็เป็นสิ่งที่ได้รับการส่งเสริมสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว เนื่องจากฮาดิษต่างๆที่เป็นที่ทราบกันในเรื่องดังกล่าว... ”.  ท่านชี้ให้เห็นสิ่งที่อบูดาวุด ได้รายงานไว้ว่า ...หญิงคนหนึ่งได้ถามอาอีซฺะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮา ถึงการอาบสีด้วยใบเทียน นางก็กล่าวว่า  “ ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ทว่าฉันไม่ชอบมัน แล้วแท้ที่จริง ความรักของฉันในตัวท่านร่อซูล ซ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม และท่านนั้นเกลียดกลิ่นของมัน ”  (อัน-นะซาอี รายงาน)

มีรายงานจากอาอีซฺะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า... “หญิงคนหนึ่งได้ส่งสัญญานจากหลังม่าน ในขณะที่มีหนังสืออยู่ในมือของนาง ไปยังท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วท่านนบีก็ได้ยื่นมือของท่านไปหา และท่านกล่าวว่า ฉันไม่ทราบว่าเป็นมือของผู้ชาย หรือ ผู้หญิงนางกล่าวว่าเป็นมือของผู้หญิง และท่านก็กล่าวว่า หากเธอเป็นผู้หญิง เธอก็จักต้องเปลี่ยนเล็บของเธอหมายถึง: การเปลี่ยนด้วยใบเทียน (อบูดาวุด และ อันนะซาอี นำออกรายงาน) แต่ทว่านางจะต้องไม่ย้อมเล็บของนางด้วยสิ่งที่ติดแข็งและทำให้ไม่สามารถทำความสะอาดได้

          2. 
การย้อมผมศีรษะของสตรี หากว่าเป็นผมหงอก นางนั้นก็ควรจะย้อมด้วยสีอื่น ที่ไม่ใช่สีดำ เนื่องจากการห้ามของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวาซัลลัม ไม่ให้ย้อมด้วยสีดำโดยทั่วไป

อิหม่าม นะวะวีย์ ได้กล่าวไว้ใน ริยาฎุซซอลิฮีน หน้าที่ 626 บทว่าด้วยเรื่อง การห้ามผู้ชาย และผู้หญิงไม่ให้อาบสีผมของเขาทั้งสองด้วยสีดำ และได้กล่าวไว้ใน มัจมั๊วอฺ เล่มที่ 1 หน้าที่  324 ว่า...

         “
และไม่มีความแตกต่างใดๆ ในการห้ามไม่ให้อาบด้วยสีดำ ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง และนี่คือแนวความคิดของเราส่วนการย้อมผมสีดำของสตรีนั้น เพื่อให้มันเปลี่ยนเป็นสีอื่นนั้น สิ่งที่ฉันมีความเห็นก็คือว่าสิ่งนี้ไม่เป็นที่อนุญาติ เพราะว่ามันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำอย่างนั้น เพราะว่าสีดำของผมนั้นมันเป็นความสวยงาม มันไม่ถือเป็นสิ่งผิดปรกติที่จะต้องเปลี่ยนแปลง และอีกอย่าง การกระทำดังกล่าว มันเป็นการเลียนแบบพวกผู้หญิงที่ปฎิเสธ ( กาฟิเราฮฺ )

           3. 
อนุญาตให้สตรีใช้เครื่องประดับที่ทำมาจากทองและเงิน ตามที่มีปฏิบัติกันและอันนี้เป็นสิ่งที่บรรดาผู้รู้เห็นพ้องต้องกัน แต่ทว่าไม่เป็นที่อนุญาติสำหรับนาง ในการที่จะนำเอาสิ่งประดับของนางมาแสดงแก่พวกผู้ชาย ที่ไม่ได้เป็นมะฮฺร็อม หากแต่จำเป็นที่นางจะต้องปกปิดมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ออกจากบ้านและต้องเผชิญกับการมองของพวกผู้ชาย เพราะว่าการกระทำอย่างนั้น มันเป็นการสร้างความวุ่นวาย และนางนั้นจะถูกห้าม ไม่ให้พวกผู้ชายได้ยินเครื่องประดับของนาง ที่ขาของนางภายใต้เสื้อผ้า ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า...

และอย่าได้ให้พวกนางตีเท้าของพวกนาง เพื่อให้มีการรู้ถึงสิ่งที่พวกนางปกปิดไว้จากเครื่องตกแต่งของพวกนาง”. ( ซูเราะฮฺ อันนูร 31)